深入了解乍都乍 (Chatuchak) 位置曼谷的重要旅行连接点

 

เจาะลึกทำเลจตุจักร จุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร


     ถ้าให้นึกถึงสวนสาธารณะที่ร่มรื่นและรู้จักในทุกเพศทุกวัยสักแห่งหนึ่ง เต๋อว่าในความคิดของทุกคนคงหนีไม่พ้นสวนรถไฟตรงจตุจักร ที่สามารถออกกำลังกายได้ พักผ่อนได้ หรือคิดงานนั่งฟังเพลงชิลๆ ก็ได้ แต่ในกรุงเทพมหานครมีสวนใหญ่ๆ แบบนี้อยู่ไม่กี่แห่งเท่านั้น วันนี้เต๋อเลยจะพาทุกคนไปรู้จักความน่าอยู่อาศัยของย่านจตุจักรกันครับ

 


     จตุจักร พื้นที่บริเวณใกล้ห้าแยกลาดพร้าว หรือที่คุ้นเคยกันว่าเป็น สวนจตุจักร จุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญของพื้นที่กรุงเทพฯ ตอนเหนือกับหัวเมืองชั้นใน และพื้นที่ต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ โดยในอดีตก่อนปี พ.ศ. 2500 ย่านจตุจักร ถือเป็นย่านชานเมืองกรุงเทพฯ ที่ยังมีความเป็นป่า เป็นทุ่งนา มีความเป็นชุมชนน้อยมาก และที่ดินส่วนใหญ่เป็นที่ดินของภาครัฐ ซึ่งจุดเริ่มต้นที่ทำให้ย่านจตุจักรกลายเป็นย่านที่บูมมากๆ เกิดจากการที่ที่ดินของภาครัฐในย่านนี้ถูกนำมาใช้ประโยชน์สาธารณะในด้านต่างๆ ที่ดึงคนให้เข้าสู่พื้นที่จำนวนมหาศาล ราวๆ ต้นปี พ.ศ.2503 บริษัท ขนส่ง จำกัด กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า บขส.ได้ใช้พื้นที่บริเวณถนนพหลโยธิน ฝั่งขาเข้า ใกล้ห้าแยกลาดพร้าว (พื้นที่ที่เป็นศูนย์ซ่อมบำรุง BTS และลานจอดรถในปัจจุบัน)

 


     ซึ่งเป็นที่ดินของกรมธนารักษ์ เป็นสำนักงานที่ทำการ สถานีต้นทางของรถ บขส. และรถร่วม บขส. ออกจากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดในภาคเหนือ ภาคอีสานและกลางบางจังหวัด ซึ่งเดิมจะเรียกพื้นที่นี้ว่า สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือ หมอชิต ผู้คนที่เดินทางมาจากภาคเหนือ ภาคอีสาน ด้วยรถทัวร์ บขส. หรือรถร่วม บขส. เพื่อเข้ากรุงเทพฯ จะต้องลงสถานีนี้ เพื่อเชื่อมต่อรถอื่นๆ ไปยังจุดหมายปลายทางของตัวเอง เช่นเดียวกับผู้ที่จะเดินทางไปยังภาคเหนือและภาคอีสานด้วยรถทัวร์ ก็จะต้องเดินทางมายังสถานีขนส่งแห่งนี้ 


     พื้นที่บริเวณนี้จึงเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญมาก เพราะเมื่อพื้นที่นี้เป็นสถานีขนส่งฯ สำคัญที่มีคนมาใช้บริการจำนวนมาก ทำให้มีรถเมล์จากทั่วทุกมุมของกรุงเทพฯ วิ่งเข้าสู่พื้นที่นี้ ส่งคน รับคน ทำให้บริเวณนี้เปรียบเสมือนศูนย์กลางการเดินทาง ที่ไม่ใช่เฉพาะคนต่างจังหวัดเข้าสู่กรุงเทพฯ แต่เป็นศูนย์กลางการเดินทางจากพื้นที่กรุงเทพฯ ตอนเหนือ สู่ทุกพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2518 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน 100 ไร่ เพื่อสร้างสวนสาธารณะตามพระราชประสงค์ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 4 รอบ หรือ 48 พรรษา และได้รับพระราชทานนามจากในหลวง รัชกาลที่ 9 ว่า “สวนจตุจักร” พร้อมเปิดทำการสวนแห่งนี้ในปี พ.ศ. 2523 และในปี พ.ศ. 2525 กรุงเทพมหานครได้จัดระเบียบพื้นที่ค้าขายหาบเร่แผงลอย โดยขอใช้ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยบริเวณริมถนนพหลโยธิน ฝั่งขาออก (มุ่งหน้าห้าแยกลาดพร้าว) หรือตรงข้ามกับสถานีขนส่งฯ หมอชิต (เดิม) ภายใต้ชื่อ ตลาดนัดย่านพหลโยธิน ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ตลาดนัดจตุจักร” พร้อมกับย้ายพ่อค้าแม่ค้าจากสนามหลวงมายังพื้นที่แห่งนี้

 


   

      จากที่เต๋อได้เล่าการเปลี่ยนแปลงของย่านจตุจักรหลักๆ มีอยู่ 3 ปัจจัย คือ ศูนย์กลางการเดินทาง สวนสาธารณะขนาดใหญ่ และตลาดนัด ทำให้ดึงคนจากทั่วประเทศไทยเข้าสู่พื้นที่ย่านจตุจักรจำนวนมหาศาล พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทาง แหล่งพักผ่อนหย่อนใจ แหล่งค้าขาย และแหล่งช้อปปิ้งที่คนต้องมา ความเป็นเมืองที่เริ่มเกิดขึ้นบริเวณย่านจตุจักรแห่งนี้ ทำให้กรมธนารักษ์เจ้าของพื้นที่ศูนย์ขนส่งหมอชิต (เดิม) ขอคืนพื้นที่นี้จาก บขส. เพื่อให้กลุ่มรถไฟฟ้า BTS เข้ามาเช่าใช้พื้นที่แทน และจะนำที่ดินบางส่วนบริเวณนี้เปิดให้เอกชนประมูล เพื่อพัฒนาเป็นโครงการเชิงพาณิชย์ ตอกย้ำภาพความเป็นย่านเชิงพาณิชย์ให้เต็มรูปแบบ โดยในปี พ.ศ. 2541 สถานีขนส่งฯ ก็ย้ายจากบริเวณนี้ไปยังถนนกำแพงเพชร (ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย)

     ซึ่งในยุคแรกๆ นิยมเรียกศูนย์ขนส่งฯ แห่งนี้ว่า “หมอชิตใหม่” ส่วนพื้นที่สถานีขนส่งฯ หมอชิตเดิม จะเรียกว่า หมอชิตเก่า แม้ว่าจะย้ายสถานีขนส่งฯ หมอชิตเก่าไปยังหมอชิตใหม่แล้ว แต่พื้นที่บริเวณนี้ยังคงเป็นศูนย์กลางการเดินทางที่สำคัญของกรุงเทพฯ เพราะหลังจากที่สถานีขนส่งฯ ย้ายไป ก็มีขนส่งมวลชนรูปแบบใหม่ “รถไฟฟ้า” เข้าสู่พื้นที่นี้ ด้วยความคุ้นเคยของคนในยุคนั้นกับการเรียกย่านนี้ว่า หมอชิต รถไฟฟ้า BTS จึงใช้ชื่อสถานีนี้ว่า สถานีหมอชิต ซึ่งเป็นสถานีปลายทางของรถไฟฟ้าสายสุขุมวิทมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุบัน (แต่ในอนาคตสถานีนี้จะมีส่วนต่อขยายไปยาวไปอีกจนถึงย่านสะพานใหม่) ส่วนรถไฟฟ้า MRT ที่เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2547 ก็เลือกใช้ชื่อสถานีบริเวณนี้ว่า สถานีจตุจักร แต่ในช่วงที่มีรถไฟฟ้าเปิดให้บริการใหม่ๆ คนยังไม่นิยมใช้บริการมากนัก แต่พื้นที่นี้ก็เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางขนาดใหญ่ ทั้งรถเมล์ รถตู้สาธารณะ อีกทั้งคนที่จะเดินทางไปยังสถานีขนส่งฯ หมอชิตใหม่ในยุคนั้น ก็ยังต้องมาต่อรถบริเวณนี้เพื่อเข้าสู่สถานีขนส่งฯ เพราะรถเมล์ที่เข้าสู่หมอชิตใหม่ยังมีไม่มากนัก จนกระทั่งรถไฟฟ้าเป็นที่นิยม ยิ่งทำให้ย่านจตุจักร เป็นจุดเชื่อมต่อรถที่สำคัญมากขึ้นอีก เพราะทั้งรถไฟฟ้า 2 ระบบ รถเมล์สายต่างๆ รถตู้สาธารณะ รถ Shuttle Bus ไปสนามบินดอนเมือง ต่างมุ่งหน้ามารวมศูนย์อยู่บริเวณนี้

 


    สิ่งที่ทำให้ย่านจตุจักรเป็นที่รู้จัก คือ การเดินทาง จากที่เต๋อได้เล่าให้ฟังจะเห็นได้ว่าการเดินทางของย่านจตุจักรเป็นเสมือนจุดเชื่อมต่อการเดินทางหลากหลายรูปแบบ เช่น
 

     ทางรถยนต์ ในย่านจตุจักร จะมีถนนเส้นสำคัญตัดผ่านหลายสาย ไล่ไปตั้งแต่ถนนเส้นพหลโยธิน ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนลาดพร้าว ถนนกำแพงเพชร เป็นต้น การเดินทางด้วยรถยนต์ในย่านนี้ จึงถือว่าค่อนข้างสะดวกสบาย สามารถมุ่งหน้าไปสู่พื้นที่ย่านอื่นๆ ได้อย่างทั่วถึง ทั้งทางฝั่งตะวันออก และฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร สภาพการจราจรก็เหมือนกับพื้นที่อื่นของกรุงเทพฯ ที่ติดขัดในช่วงเวลาเร่งด่วน และคล่องตัวในช่วงเวลาอื่น ส่วนที่ติดขัดมากมักอยู่บริเวณด้านหน้าตลาดนัดจตุจักร เพราะเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางหลายรูปแบบ ผู้คนที่ต้องมาต่อรถตรงจุดนี้ก็มีจำนวนมาก ทำให้ช่องการจราจรบนถนนถูกบีบให้เล็กลงโดยอัตโนมัติ

 
     ทางด่วนพิเศษ ทางพิเศษที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ย่าน ได้แก่ ทางยกระดับอุตราภิมุข วางตัวตามแนวถนนวิภาวดีรังสิต วิ่งมาจากโซนรังสิตผ่านพื้นที่ย่าน แล้วเข้าสู่ใจกลางเมือง ต่อมาเป็นทางพิเศษศรีรัช อยู่ทางด้านหลังของสวนรถไฟ วิ่งมาจากเขตบางเขน แล้วเข้าสู่ตัวเมืองไปเช่นกัน รวมถึงทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอก ที่เชื่อมต่อไปถึงบริเวณตลิ่งชัน โดยมีจุดขึ้น-ลง อยู่ไม่ไกลจากบริเวณสวนรถไฟ 


     รถประจำทาง จะมีให้บริการอยู่ตลอดบนถนนเส้นหลักทุกเส้นในย่านนี้ และมีป้ายรถประจำทางตั้งอยู่ห่างกันเป็นระยะไม่ไกลกันมากนัก โดยสายสำคัญได้แก่ สาย 3 หมอชิตใหม่ – คลองสาน สาย 28 สถานีขนส่งผู้โดยสารจตุจักร – สถานีขนส่งผู้โดยสารตลิ่งชัน  สาย 29 ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต – หัวลำโพง สาย 63 ตลาด อตก.3 – อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สาย 90 ท่าน้ำบางพูน – เกียกกาย  สาย 104 ปากเกร็ด – ถนนติวานนท์-ขนส่งสายเหนือ สาย 157 อ้อมใหญ่ – อู่หมอชิต 
รถไฟฟ้า รถไฟฟ้าที่ให้บริการในย่านนี้มีด้วยกัน 2 สาย คือ รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว เชื่อมต่อ 3 จังหวัด สมุทรปราการ-กรุงเทพฯ-ปทุมธานี โดยเชื่อมรถไฟฟ้า 3 ส่วนเข้าด้วยกันคือ รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ รถไฟฟ้า BTS และรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-คูคต รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสีม่วงที่เชื่อมต่อกันเป็นวงแหวนสายแรกของกรุงเทพฯ เชื่อมต่อรถไฟฟ้า 4 ส่วน ได้แก่ รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT เดิม รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และช่วงหัวลำโพง-หลักสอง รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ช่วงเตาปูน–คลองบางไผ่ 


     วินมอเตอร์ไซค์ เนื่องจากว่า ตรงใจกลางย่านจตุจักรเป็นจุดเชื่อมต่อไปยังสถานีขนส่งได้ด้วย ดังนั้นวินมอเตอร์ไซค์จึงค่อนข้างเยอะ เพราะในช่วงเร่งรีบที่คนกลัวว่าจะตกรถ บวกกับสภาพรถติดในเทศกาลต่าง ๆ วินมอเตอร์ไซค์ ถือว่าตอบโจทย์ที่สุด จุดสำคัญที่คอยให้บริการอยู่คือทางลงรถไฟฟ้า BTS สถานีหมอชิตทั้ง 2 ฝั่ง และด้านในตลาดนัดจตุจักร ค่าบริการเริ่มต้นที่ 15 บาท ราคาค่าโดยสารอาจเปลี่ยนแปลงได้ 
รถตู้ มีรถตู้ให้บริการจำนวนมากทีเดียว มีทั้งที่จอดรอตามคิวรถ และแบบที่แวะรับตามป้ายรถประจำทาง เส้นทางการวิ่งมีให้เลือกหลากหลาย เช่น อนุสาวรีย์ – ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต มีนบุรี – ปากเกร็ด เกษตร – อนุสาวรีย์ ค่าโดยสารเริ่มต้นตั้งแต่ 30 บาท แล้วแต่ระยะทาง ราคาค่าโดยสารอาจเปลี่ยนแปลงได้ โปรดสอบถามกับคนขับก่อนใช้บริการเสมอ 
สถานีกลางบางซื่อ ศูนย์กลางทางด้านคมนาคมใหญ่ระดับอาเซียน ที่เชื่อมต่อได้ทั้งรถไฟฟ้า ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน บางซื่อ-ตลิ่งชัน รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม บางซื่อ-รังสิต รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน รถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั้งค้าส่งและค้าปลีก ไม่ว่าจะเป็นศูนย์การค้า อาคาร สำนักงาน โรงแรม ที่พักอาศัย และที่พักผ่อน


    และอีกหนึ่งสีสันของย่านจตุจักร คือ พื้นที่สวนสาธารณะขนาดใหญ่ถึง 726 ไร่ ประกอบด้วย 3 สวนด้วยกัน ได้แก่ สวนจตุจักร , สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์, สวนวิชรเบญจทัศ สถานศึกษา โรงเรียนวัดไผ่ตัน โรงเรียนหอวัง วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ฯ โรงเรียนราชนันทาจารย์ สามเสนวิทยาลัย 2 โรงพยาบาล โรงพยาบาล เปาโล เมโมเรียล พหลโยธิน โรงพยาบาลมิราเคิล ออฟไลฟ์ โรงพยาบาลสุทธิสาร ห้างสรรพสินค้า Metro Mall จตุจักร JJ Mall ยูเนี่ยน มอลล์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว และตลาดนัดจตุจักรแหล่งช้อปปิ้งแนวสตรีทที่ดึงดูดขาช้อปทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เป็นย่านการค้าขนาดใหญ่ที่มีเอกลักษณะเฉพาะตัว มีกิจกรรมให้เลือกทำได้แทบจะครบถ้วนทั้ง 24 ชั่วโมง การเดินทางก็สะดวกสบาย จะออกนอกเมืองก็ง่าย จะเข้าสู่ใจกลางเมืองก็คล่องตัว แถมยังมีพื้นที่สีเขียวซึ่งเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของคนเมืองอีกด้วย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีผู้คนหลายกลุ่มอยากเข้ามาสัมผัส หรือเข้ามาอาศัยอยู่ในย่านจตุจักรแห่งนี้


อนาคตของย่านจตุจักร
     จากอดีตถึงปัจจุบัน ความเป็นศูนย์กลางการเดินทางยังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่ความบูมของย่านจตุจักรกลับเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว โดยเฉพาะตลาดนัดจตุจักร ที่ไม่เพียงแต่ดึงนักช้อปคนไทยเท่านั้น แต่ยังดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้าสู่พื้นที่จำนวนมากด้วยเช่นกัน โดยย่านจตุจักรกลายเป็นแหล่งช้อปปิ้งที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกต้องมาเยือน มากิน มาช้อปปิ้ง ย่านจตุจักร จึงเป็นย่านที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในวงกว้าง และเริ่มดึงดูดนักพัฒนาที่ดินให้เข้ามา ทั้งทั้งอาคารสำนักงานเกรด A และคอนโดมิเนียมเกิดขึ้นมากมาย ด้วยความที่ที่ดินส่วนใหญ่เป็นที่ดินของรัฐ เมื่อมีโครงการของภาคเอกชนเปิดออกมาขายแบบฟรีโฮลด์ (ขายกรรมสิทธิ์) ระดับราคาจึงถูกปั่นให้ไต่ระดับจากคอนโดมิเนียมระดับกลางสู่ความเป็นไฮเอนด์ ชูจุดขายทั้งการเดินทางสะดวก มีวิวสวนสาธารณะ เจาะขายทั้งนักลงทุนชาวไทยและชาวต่างชาติ ยิ่งเมื่อผสมกับบริเวณห้าแยกลาดพร้าวที่เจริญเติบโตมากขึ้น ยิ่งทำให้ภาพรวมของย่านจตุจักรร้อนแรงมากขึ้น ปัจจุบันจากการสำรวจของ The Bangkok Residence 88 พบว่า คอนโดมิเนียมเป็นที่อยู่อาศัยที่พบมากที่สุดในย่านจตุจักร เนื่องจากที่ดินสำหรับพัฒนาเป็นแปลงไม่ใหญ่มาก เหมาะแก่การสร้างอาคารแนวสูง โดยกลุ่มราคาที่พบส่วนใหญ่ 5-6 ล้านบาทขึ้นไปแทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะโครงการใหม่ๆและใกล้รัศมีรถไฟฟ้า ราคาจะค่อนข้างสูงกว่าตามตรอกซอย ราคาเฉลี่ยต่อตารางเมตรอยู่ที่ 115,000 บาท ราคากลางอยู่ที่ 150,000 บาทต่อตารางเมตร แต่ในราคาปัจจุบันสามารถวิ่งขึ้นไปสูงสุดที่ 200,000 บาทต่อตารางเมตร เห็นได้ชัดว่าอัตาราเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดของ Capital gain ส่วนราคาเช่าเริ่มต้นที่ 15,000-20,000 บาทต่อเดือน หรือราว 500 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ขนาดห้องไม่เกิน 35 ตารางเมตร รูปแบบ Studio และ 1-2 Bedroom ผู้เช่าเป็นกลุ่มคนที่ทำงานออฟฟิศตามแนวรถไฟฟ้า เช่น จตุจักร สะพานควาย อารีย์ พญาไท ลาดพร้าว รัชดาภิเษก เป็นต้น โดยเป็นกลุ่มพนักงานระดับ Senior ผู้บริหาร นักธุรกิจและนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ เน้นการเดินทางที่สะดวก ท่ามกลางแหล่งจับจ่ายใช้สอยและพื้นที่สีเขียว ผลตอบแทนในการลงทุนคอนโดย่านจตุจักร สะท้อนผ่าน Rental Yield อยู่ที่ 5-6% ต่อปี เนื่องจากมีกลุ่มผู้เช่าให้การตอบรับอย่างสม่ำเสมอครับ


     ตอนนี้ทุกคนคงรู้แล้วว่าย่านจตุจักรนั้นเป็นย่านที่ไม่มีวันหลับใหล ที่จะทำให้การลงทุน การปล่อยเช่า การอยู่อาศัยของทุกคนไม่มีวันหยุดนิ่งอีกต่อไป ฉะนั้น อย่ารอช้าครับ แค่ติดต่อเข้ามาที่ The Bangkok Residence 88 แล้วคุณจะไม่พลาดโอกาสในการใช้ชีวิตในเมืองควบคู่ไปกับธรรมชาติ หรือไม่พลาดโอกาสในการทำกำไรบนทำเลที่เรียกได้ว่าไม่มีวันหลับใหล เพราะเราเป็นกูรูทางคอนโดมิเนียมที่ดีที่สุดในประเทศไทย

 

    สำหรับท่านใดที่กำลังสนใจซื้อคอนโด คอนโดมือสอง คอนโดใจกลางเมือง หรือต้องการที่ปรึกษาด้านอสังหาฯ แบบครบวงจร ก็สามารถเข้ามาปรึกษากับ The Bangkok Residence เอเจ้นท์คอนโดระดับแนวหน้าของเมืองไทย ได้ทุกช่องทางตามรายละเอียดด้านล่างครับ

 

📍𝗦𝗔𝗟𝗘 𝗢𝗙𝗙 𝗨𝗣 𝗧𝗢 𝟱𝟬%
𝗕𝗥 𝗔𝗚𝗘𝗡𝗧 จัดให้ช้อป 𝙊𝙉𝙇𝙄𝙉𝙀 แบบจุกๆ
กับคอนโดทำเลดี 4 ย่านสุดฮอต

✊️ ช้าหมดอด ต้องรีบจอง! ✊️

✅ 𝐒𝐮𝐤𝐡𝐮𝐦𝐯𝐢𝐭
𝗖𝗹𝗶𝗰𝗸 > https://bit.ly/3ny5Qc6

✅ 𝐒𝐚𝐭𝐡𝐨𝐫𝐧
𝗖𝗹𝗶𝗰𝗸 > https://bit.ly/34FkqWk

✅ 𝐏𝐡𝐚𝐲𝐚𝐭𝐡𝐚𝐢
𝗖𝗹𝗶𝗰𝗸 > https://bit.ly/2GDkdLi

✅ รัชดา
𝗖𝗹𝗶𝗰𝗸 > https://bit.ly/3d9x17Y

📍 เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

ติดตามข้อมูลข่าวสารดี ๆ ทุกสัปดาห์ได้ที่ 

✅Blockdit : https://bit.ly/3wAfv8O

✅Website : https://bit.ly/35oRzGw

✅LINE@ : https://bit.ly/2TsKemK

✅Facebook : https://bit.ly/3p4NVuP

✅Twitter : https://bit.ly/3nTJOBy

✅Instagram : https://bit.ly/3q6B7Xk

 

เจาะลึกทำเลอื่น ๆ คลิก

เจาะลึกทำเลปุณณวิถี

เจาะลึก BTS สะพานควาย

เจาะลึกคอนโดสถานี MRT พระราม 9

BTS วงเวียนใหญ่ ย่านแหล่งอาหารสตรีทฟู้ด

เจาะลึกอดีตและอนาคต ของทำเล BTS เพลินจิต - ชิดลม

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

  

 

#WeAreBRagent
#TheBangkokResidence
#RealEstateForHappiness
#ซื้อคอนโด #เช่าคอนโด #ขายคอนโด #เอเจ้นท์คอนโด
#คอนโดมือสอง #คอนโดติดรถไฟฟ้า #คอนโดหรู

You May Also Like These Articles

请登记您的联系方式,我们将尽快与您联系。
请咨询房地 产专业